หน้าแรก การจัดการความรู้ การวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

การวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

0

แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน พ.ศ.2560-2579 มีวิสัยทัศน์ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” ตลอดจนแนวคิด Thailand 4.0 ที่เน้นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบก้าวกระโดดที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้พร้อมรองรับประเทศไทยยุค 4.0 โดยเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะของประชากรในศตวรรษที่ 21 และเป็นนวัตกร

จากข้อมูลพบว่าคนไทยใช้ Internet ร้อยละ75ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 59 คนไทยใช้เวลาอยู่ใน Internet เฉลี่ย 9.01 ชั่วโมงต่อวัน มากสุดเป็นอันดับ 4ของโลก ใช้เวลาอยู่ใน Internet ผ่านมือถือเฉลี่ย 4 ชั่วโมง 57 นาทีต่อวัน Disruptive Technology ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความต้องการในการบริโภคและอาชีพที่เปลี่ยนแปลงไป แนวโน้มเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในปี 2020 ได้แก่ Hyperautomation, Multiexperience, Democratization of Expertize, Human Augmentation, Transparency and Traceability, Empower Edge, Distributed Cloud, Autonomous Things, Practical Blockchain, AI Security

รวมถึงการเกิดขึ้นของโคโรนาไวรัส หรือ COVID-19 ทำให้เกิด Disrupting Educational Technology Skillset อาทิ Case of Online Learning; MOOCs เช่น Coursera, edX, Udacity, FutureLearn, Swayam, ThaiMooc มีการเติบโตที่รวดเร็ว การเรียนรู้เพื่อได้ปริญญาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากในที่ตั้งเป็นออนไลน์มากขึ้น หลายๆมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเปิด Open Courseware มีการพัฒนาเครื่องมือสื่อการเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย นอกจากเดิมที่เป็นที่รู้จักกันดี ก็มีเครื่องมือเกิดขึ้นใหม่ๆมากมายเช่น Youtube, Zoom, Microsoft Teams, Google Classroom, Mentimeter, Padlet, Kahoot, Think Pair Share เป็นต้น

วิธีการเรียนการสอนและกลยุทธ์การสอนในยุคใหม่ไม่ว่าจะเป็น Online Learning, Blended Learning, Flipped Learning, Self-directed Learning, Learning Community เน้นมุ่งสู่การสร้าง DQ ซึ่งประกอบด้วย Digital Quotient, Digital Intelligence, Digital Competencies Smart Teacherในยุค Thailand 4.0 จึงต้องเตรียมให้ผู้เรียนมีทักษะของประชากรในศตวรรษที่ 21 เน้น Cognitive Skills และ Soft Skills

การวิจัยนวัตกรรมการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและท้าทายสำหรับครูอาจารย์ในยุคศตวรรษที่ 21

ถอดความรู้โดย ผศ.ผการัตน์ จำปาน้อย จากการบรรยายโดย รศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 จัดโดยศูนย์เรียนรู้ ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต