เศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดีกันแน่?? กระบวนทัศน์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคประชาชน

เศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดีกันแน่??
กระบวนทัศน์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคประชาชน
โดย รศ.ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

ณัฐธิดา เย็นบำรุง เรียบเรียง

ตัวเลขเศรษฐกิจที่รัฐบาลและนักเศรษฐกิจนำเสนอออกมานั้นกับสิ่งที่เป็นจริงเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน รัฐบาลเสนอว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยดีมาก การส่งออกดีมาก GDP เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่เรามักจะเจอการบ่นมากมายจากคนทั่วไป เช่น แท็กซี่ คนค้าขาย และคนในท้องถิ่น ว่าเศรษฐกิจไม่ดี รายได้ลดลงมาก เหตุใดรัฐบาลและนักเศรษฐศาสตร์เสนอต่างจากที่ชาวบ้านคิด เกิดอะไรขึ้นในเศรษฐกิจไทย

ภาพลวงตาการส่งออกไทย

ในการดูระบบเศรษฐกิจ ใช้สมการ Y=C + I + G + (X-M) คือ มีเรื่องการใช้จ่ายการบริโภคครัวเรือน ตัว C การลงทุนภาคเอกชน ตัว I การใช้จ่ายรัฐบาล ตัว G ดุลการค้า (x-m) สิ่งที่น่าสนใจ คือ ภาพลวงตาของตัวเลขการส่งออก เรามักจะพูดกันเสมอว่าการส่งออกเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ซึ่งมันทำให้คนเข้าใจผิดว่าการส่งออกสร้าง GDP 70 เปอร์เซ็นต์ แต่จริงๆ แล้วมูลค่าการส่งออกยังไม่ใช่มูลค่าที่ไปเพิ่ม GDP โดยตรง ต้องหักการนำเข้าออกก่อน เช่น มูลค่าการส่งออกเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ นำเข้า 65 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า ดุลการค้าคือ 5 เปอร์เซ็นต์ ตัวที่เพิ่ม GDP คือดุลการค้า และดุลการชำระเงิน ไม่ใช่การส่งออก มีการตั้งคำถามกันมากว่า ตัวเลขส่งออกดีมาก ควรกระจายไปด้านล่างได้แล้ว นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ถ้าการส่งออกดี จะช่วยกระจายเศรษฐกิจไปเอง เหตุใดทำไมเศรษฐกิจสังคมไทยไม่กระจายออกไป นักเศรษฐศาสตร์ และรัฐบาลไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจนถึงปัญหาตัวเลขการส่งออกไทย มีหลายเหตุผลดังนี้ (คลิกอ่านรายละเอียด)

แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

13 พฤษภาคม 2551

โลกาภิวัตน์ (globalization) เป็นคำแห่งยุคสมัยของโลกปัจจุบัน แต่ความเข้าใจของแต่ละกลุ่มคนดูจะแตกต่างกัน มีทั้งกลุ่มคนที่ชอบและกลุ่มคนที่ไม่ชอบ อย่างไรก็ตาม โลกาภิวัตน์ได้เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และคลี่คลายขยายตัวต่อไป ทั้งในบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่ก่อให้เกิดผลทั้งดีทั้งเลวให้แก่กลุ่มคนและสังคมในโลกนี้ สังคมไทยตกอยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ที่ไม่อาจหลีกพ้นจากทั้งผลดีและผลเสียของมัน ปัญหาว่าประเทศไทยจะอยู่กับมันอย่างไร เราจะมีแนวคิดและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์อย่างไร จึงจะสามารถลดข้อเสียลงได้ และใช้ข้อดีของมันให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย

  • อะไรคือโลกาภิวัตน์

นักคิดนักวิชาการต่างสาขา ให้มุมมองและความหมายของคำว่า โลกาภิวัตน์ที่แตกต่างกันไป แต่กล่าวโดยสาระร่วม ต่างเห็นร่วมกันว่า โลกาภิวัตน์ เป็นภาวะหรือยุคสมัยของการที่เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในทุกภาคส่วน ในทุกภูมิภาคในทุกประเทศ เชื่อมต่อถึงกันแผ่กระจายถ่ายเทจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนโลกนี้อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด แต่รูปธรรมที่เด่นชัดที่สุดของการแผ่กระจายถ่ายเทไปทั่วทุกถิ่นแดนในโลกนี้ ก็คือ การแผ่กระจายถ่ายเทของทุน และข่าวสารข้อมูล ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างแคบ ภาวะโลกาภิวัตน์ จึงหมายถึงภาวะความเป็นไปตามกระแสโลก เมื่อโลกนี้เป็นโลกที่ครอบงำโดยทุน การเป็นไปตามโลก็หมายถึงเป็นไปตามกระแสทุน กระแสทุนที่ไหลถ่ายกระจายแผ่ไปทั่วโลก ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน

อ่านต่อ      

ชาวนากับปัญหาเรื่องข้าว

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมือง

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

31 ตุลาคม 2559

            บทความนี้ ต้องการจะบอกว่า อะไรคือปัญหาของชาวนาและปัญหาของข้าว ปัญหานั้นมีสาเหตุจากอะไร? การแก้ปัญหาที่สาเหตุควรจะทำอย่างไร? รัฐบาลควรจะมีนโยบายอย่างไร? เกี่ยวกับปัญหาข้าวและชาวนา ตัวเลขที่ใช้ในบทความนี้ได้จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตร

            1. ปัญหาทั่วไปของชาวนา

                        1.1) ปัญหาความยากจน ความยากจนในที่นี้ จะขอใช้ในความหมายอย่างแคบที่เรียกว่า “ความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) ซึ่งวัดจากรายได้เป็นตัวเงิน ที่พอจะดำรงชีอยู่ได้โดยไม่อดตาย ซึ่งตามตัวเลขของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อยู่ที่ 2,422 บาท/คน/เดือน  ในปี 2554 ประชากรยากจนที่มีรายได้เท่านี้และต่ำกว่านี้มีทั้งหมด 8.8 ล้านคน และประมาณ 6 ล้านคน หรือร้อยละ 69 อยู่ในชนบท ยังชีพอยู่ด้วยวิถีการเกษตรและอาชีพอื่นๆ นอกไร่นา โดย 2.7 ล้านคนมีถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 30.5 ของคนยากคนจนทั้งหมด) และ 1.4 ล้านคนอยู่ในภาคเหนือ (ร้อยละ 15.8) ภาคกลาง 1.3 ล้านคน ภาคใต้ 0.7 ล้านคน ส่วนคนจนในเขตเมืองรวมทั้งหมดก็มีประมาณ 2.7 ล้านคน

อ่านเพิ่มเติม