ชาวนากับปัญหาเรื่องข้าว

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 31 ตุลาคม 2559 บทความนี้ ต้องการจะบอกว่า อะไรคือปัญหาของชาวนาและปัญหาของข้าว ปัญหานั้นมีสาเหตุจากอะไร? การแก้ปัญหาที่สาเหตุควรจะทำอย่างไร? รัฐบาลควรจะมีนโยบายอย่างไร? เกี่ยวกับปัญหาข้าวและชาวนา ตัวเลขที่ใช้ในบทความนี้ได้จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตร 1. ปัญหาทั่วไปของชาวนา 1.1) ปัญหาความยากจน ความยากจนในที่นี้ จะขอใช้ในความหมายอย่างแคบที่เรียกว่า “ความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) ซึ่งวัดจากรายได้เป็นตัวเงิน ที่พอจะดำรงชีอยู่ได้โดยไม่อดตาย ซึ่งตามตัวเลขของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อยู่ที่ 2,422 บาท/คน/เดือน ในปี 2554 ประชากรยากจนที่มีรายได้เท่านี้และต่ำกว่านี้มีทั้งหมด 8.8 ล้านคน และประมาณ 6 ล้านคน หรือร้อยละ 69 อยู่ในชนบท ยังชีพอยู่ด้วยวิถีการเกษตรและอาชีพอื่นๆ นอกไร่นา โดย 2.7 ล้านคนมีถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 30.5 ของคนยากคนจนทั้งหมด) และ 1.4 ล้านคนอยู่ในภาคเหนือ (ร้อยละ 15.8) ภาคกลาง 1.3 ล้านคน ภาคใต้ 0.7 ล้านคน ส่วนคนจนในเขตเมืองรวมทั้งหมดก็มีประมาณ 2.7 ล้านคน อ่านเพิ่มเติม

แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

13 พฤษภาคม 2551

โลกาภิวัตน์ (globalization) เป็นคำแห่งยุคสมัยของโลกปัจจุบัน แต่ความเข้าใจของแต่ละกลุ่มคนดูจะแตกต่างกัน มีทั้งกลุ่มคนที่ชอบและกลุ่มคนที่ไม่ชอบ อย่างไรก็ตาม โลกาภิวัตน์ได้เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และคลี่คลายขยายตัวต่อไป ทั้งในบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่ก่อให้เกิดผลทั้งดีทั้งเลวให้แก่กลุ่มคนและสังคมในโลกนี้ สังคมไทยตกอยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ที่ไม่อาจหลีกพ้นจากทั้งผลดีและผลเสียของมัน ปัญหาว่าประเทศไทยจะอยู่กับมันอย่างไร เราจะมีแนวคิดและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์อย่างไร จึงจะสามารถลดข้อเสียลงได้ และใช้ข้อดีของมันให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย

  • อะไรคือโลกาภิวัตน์

นักคิดนักวิชาการต่างสาขา ให้มุมมองและความหมายของคำว่า โลกาภิวัตน์ที่แตกต่างกันไป แต่กล่าวโดยสาระร่วม ต่างเห็นร่วมกันว่า โลกาภิวัตน์ เป็นภาวะหรือยุคสมัยของการที่เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในทุกภาคส่วน ในทุกภูมิภาคในทุกประเทศ เชื่อมต่อถึงกันแผ่กระจายถ่ายเทจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนโลกนี้อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด แต่รูปธรรมที่เด่นชัดที่สุดของการแผ่กระจายถ่ายเทไปทั่วทุกถิ่นแดนในโลกนี้ ก็คือ การแผ่กระจายถ่ายเทของทุน และข่าวสารข้อมูล ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างแคบ ภาวะโลกาภิวัตน์ จึงหมายถึงภาวะความเป็นไปตามกระแสโลก เมื่อโลกนี้เป็นโลกที่ครอบงำโดยทุน การเป็นไปตามโลก็หมายถึงเป็นไปตามกระแสทุน กระแสทุนที่ไหลถ่ายกระจายแผ่ไปทั่วโลก ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน

อ่านต่อ      

ม.รังสิต เปิดรับสมัครแล้ว ป.เอกเศรษฐศาสตร์การเมือง

.

ข่าวสารการรับสมัคร ปริญญาเอกเราจะเข้าใจการต่อสู้เพื่อความมั่งคั่ง (wealth) และพลังอำนาจ (power) ของกลุ่มคนและชนชั้นทั้งในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างไร คำตอบ อยู่ที่การศึกษาหลักสูตรปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศและการพัฒนา

เรียนโดยการทำวิทยานิพนธ์ 100% (ไม่มีชั้นเรียน) เหมาะกับยุค Social Distancing
ควบคุมคุณภาพหลักสูตร โดย รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
นักเศรษฐศาสตร์การเมืองอันดับหนึ่งของประเทศ และเป็นผู้ก่อตั้งหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย

ด่วนสมัครเรียน วันนี้ รับส่วนลด 25% เหลือค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตรเพียง 337,500 บาท สนใจสมัครติดต่อ

เศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดีกันแน่?? กระบวนทัศน์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคประชาชน

เศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดีกันแน่??
กระบวนทัศน์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคประชาชน
โดย รศ.ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

ณัฐธิดา เย็นบำรุง เรียบเรียง

ตัวเลขเศรษฐกิจที่รัฐบาลและนักเศรษฐกิจนำเสนอออกมานั้นกับสิ่งที่เป็นจริงเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน รัฐบาลเสนอว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยดีมาก การส่งออกดีมาก GDP เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่เรามักจะเจอการบ่นมากมายจากคนทั่วไป เช่น แท็กซี่ คนค้าขาย และคนในท้องถิ่น ว่าเศรษฐกิจไม่ดี รายได้ลดลงมาก เหตุใดรัฐบาลและนักเศรษฐศาสตร์เสนอต่างจากที่ชาวบ้านคิด เกิดอะไรขึ้นในเศรษฐกิจไทย

ภาพลวงตาการส่งออกไทย

ในการดูระบบเศรษฐกิจ ใช้สมการ Y=C + I + G + (X-M) คือ มีเรื่องการใช้จ่ายการบริโภคครัวเรือน ตัว C การลงทุนภาคเอกชน ตัว I การใช้จ่ายรัฐบาล ตัว G ดุลการค้า (x-m) สิ่งที่น่าสนใจ คือ ภาพลวงตาของตัวเลขการส่งออก เรามักจะพูดกันเสมอว่าการส่งออกเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ซึ่งมันทำให้คนเข้าใจผิดว่าการส่งออกสร้าง GDP 70 เปอร์เซ็นต์ แต่จริงๆ แล้วมูลค่าการส่งออกยังไม่ใช่มูลค่าที่ไปเพิ่ม GDP โดยตรง ต้องหักการนำเข้าออกก่อน เช่น มูลค่าการส่งออกเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ นำเข้า 65 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า ดุลการค้าคือ 5 เปอร์เซ็นต์ ตัวที่เพิ่ม GDP คือดุลการค้า และดุลการชำระเงิน ไม่ใช่การส่งออก มีการตั้งคำถามกันมากว่า ตัวเลขส่งออกดีมาก ควรกระจายไปด้านล่างได้แล้ว นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ถ้าการส่งออกดี จะช่วยกระจายเศรษฐกิจไปเอง เหตุใดทำไมเศรษฐกิจสังคมไทยไม่กระจายออกไป นักเศรษฐศาสตร์ และรัฐบาลไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจนถึงปัญหาตัวเลขการส่งออกไทย มีหลายเหตุผลดังนี้ (คลิกอ่านรายละเอียด)

Ep.2 ฟอกเงินใช่ไหม?หรือใครหนุน?

พาชมร้านธรรมทัศน์,ดินอุ้มดาว,มังลูกแม่ และ พลังรักษ์(นิสิตถามที่นี่จะเรียกว่าฟอกเงินไหม? รศ.ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ์ คณบดีสถาบันเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต และนิสิต ปี 1,2 มาศึกษาดูงาน ณ บวรสันติอโศก กทม.

คลิกชมคลิป

Ep.1″พ่อคอมมูนฯแบบบุญนิยม”

รศ.ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ์ คณบดีสถาบันเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต และนิสิต ปี 1,2 มาศึกษาดูงาน ณ บวรสันติอโศก ชม ร้านพลังบุญ และสรุปการค้าแบบบุญนิยม

คลิกชมคลิป