เศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดีกันแน่?? กระบวนทัศน์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคประชาชน

เศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดีกันแน่??
กระบวนทัศน์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคประชาชน
โดย รศ.ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

ณัฐธิดา เย็นบำรุง เรียบเรียง

ตัวเลขเศรษฐกิจที่รัฐบาลและนักเศรษฐกิจนำเสนอออกมานั้นกับสิ่งที่เป็นจริงเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน รัฐบาลเสนอว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยดีมาก การส่งออกดีมาก GDP เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่เรามักจะเจอการบ่นมากมายจากคนทั่วไป เช่น แท็กซี่ คนค้าขาย และคนในท้องถิ่น ว่าเศรษฐกิจไม่ดี รายได้ลดลงมาก เหตุใดรัฐบาลและนักเศรษฐศาสตร์เสนอต่างจากที่ชาวบ้านคิด เกิดอะไรขึ้นในเศรษฐกิจไทย

ภาพลวงตาการส่งออกไทย

ในการดูระบบเศรษฐกิจ ใช้สมการ Y=C + I + G + (X-M) คือ มีเรื่องการใช้จ่ายการบริโภคครัวเรือน ตัว C การลงทุนภาคเอกชน ตัว I การใช้จ่ายรัฐบาล ตัว G ดุลการค้า (x-m) สิ่งที่น่าสนใจ คือ ภาพลวงตาของตัวเลขการส่งออก เรามักจะพูดกันเสมอว่าการส่งออกเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ซึ่งมันทำให้คนเข้าใจผิดว่าการส่งออกสร้าง GDP 70 เปอร์เซ็นต์ แต่จริงๆ แล้วมูลค่าการส่งออกยังไม่ใช่มูลค่าที่ไปเพิ่ม GDP โดยตรง ต้องหักการนำเข้าออกก่อน เช่น มูลค่าการส่งออกเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ นำเข้า 65 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า ดุลการค้าคือ 5 เปอร์เซ็นต์ ตัวที่เพิ่ม GDP คือดุลการค้า และดุลการชำระเงิน ไม่ใช่การส่งออก มีการตั้งคำถามกันมากว่า ตัวเลขส่งออกดีมาก ควรกระจายไปด้านล่างได้แล้ว นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ถ้าการส่งออกดี จะช่วยกระจายเศรษฐกิจไปเอง เหตุใดทำไมเศรษฐกิจสังคมไทยไม่กระจายออกไป นักเศรษฐศาสตร์ และรัฐบาลไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจนถึงปัญหาตัวเลขการส่งออกไทย มีหลายเหตุผลดังนี้ (คลิกอ่านรายละเอียด)