เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต รุ่นที่ 1

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ รุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ.2556 มีมหาบัณฑิตสำเร็จการศึกษารวมทั้งสิ้น 10 คน 1. วิมลรัตน์ ดาวกลาง 2. กฤษณะ เลิศเกษตรวิทยา 3. ฉัตรชัย เพ็งจันทร์ 4. วรางค์รัตน์ ฎาณวรรณ 5. ธนิต อินทร 6. พัชรวัฒน์ ภาคินสิทธินันท์ 7. จักรวาล ศรียุกต์นิรันดร์ 8. วันเฉลิม สอนศรีใหม่ 9. เกรียงไกร บุญวัฒน์ 10. ดลวัฒน์ วงษ์จันทร์

การวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน พ.ศ.2560-2579 มีวิสัยทัศน์ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” ตลอดจนแนวคิด Thailand 4.0 ที่เน้นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบก้าวกระโดดที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้พร้อมรองรับประเทศไทยยุค 4.0 โดยเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะของประชากรในศตวรรษที่ 21 และเป็นนวัตกร

จากข้อมูลพบว่าคนไทยใช้ Internet ร้อยละ75ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 59 คนไทยใช้เวลาอยู่ใน Internet เฉลี่ย 9.01 ชั่วโมงต่อวัน มากสุดเป็นอันดับ 4ของโลก ใช้เวลาอยู่ใน Internet ผ่านมือถือเฉลี่ย 4 ชั่วโมง 57 นาทีต่อวัน Disruptive Technology ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความต้องการในการบริโภคและอาชีพที่เปลี่ยนแปลงไป แนวโน้มเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในปี 2020 ได้แก่ Hyperautomation, Multiexperience, Democratization of Expertize, Human Augmentation, Transparency and Traceability, Empower Edge, Distributed Cloud, Autonomous Things, Practical Blockchain, AI Security

รวมถึงการเกิดขึ้นของโคโรนาไวรัส หรือ COVID-19 ทำให้เกิด Disrupting Educational Technology Skillset อาทิ Case of Online Learning; MOOCs เช่น Coursera, edX, Udacity, FutureLearn, Swayam, ThaiMooc มีการเติบโตที่รวดเร็ว การเรียนรู้เพื่อได้ปริญญาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากในที่ตั้งเป็นออนไลน์มากขึ้น หลายๆมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเปิด Open Courseware มีการพัฒนาเครื่องมือสื่อการเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย นอกจากเดิมที่เป็นที่รู้จักกันดี ก็มีเครื่องมือเกิดขึ้นใหม่ๆมากมายเช่น Youtube, Zoom, Microsoft Teams, Google Classroom, Mentimeter, Padlet, Kahoot, Think Pair Share เป็นต้น

วิธีการเรียนการสอนและกลยุทธ์การสอนในยุคใหม่ไม่ว่าจะเป็น Online Learning, Blended Learning, Flipped Learning, Self-directed Learning, Learning Community เน้นมุ่งสู่การสร้าง DQ ซึ่งประกอบด้วย Digital Quotient, Digital Intelligence, Digital Competencies Smart Teacherในยุค Thailand 4.0 จึงต้องเตรียมให้ผู้เรียนมีทักษะของประชากรในศตวรรษที่ 21 เน้น Cognitive Skills และ Soft Skills

การวิจัยนวัตกรรมการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและท้าทายสำหรับครูอาจารย์ในยุคศตวรรษที่ 21

ถอดความรู้โดย ผศ.ผการัตน์ จำปาน้อย จากการบรรยายโดย รศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 จัดโดยศูนย์เรียนรู้ ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต

เศรษฐศาสตรบัณฑิต ม.รังสิต รุ่นที่ 1

บัณฑิตเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2545 จำนวนทั้งสิ้น 9 คน ปัจจุบันพี่ๆ ECON RSU 1 ทำงานในสายงานที่ตนเองรัก ถนัด บางคนได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลตามวันเวลาที่ผ่านไป

ภาพหมู่จากซ้ายไปขวา: ลดาวัลย์ หอมจันทร์(น้อง) ธัชตรี จิรโรจน์(เติ้ล) นิธิพัฒน์ อวยศิลป์(หนึ่ง) ทิศากร อักษรนำ(แอล) ภวัต ตันติบูล(หนุ่ย) ด้านหน้า นิคม ลาภนิมิตรชัย(เกียร์) ภาพเดี่ยว: สวรรยา วัฒนะวิบูลย์(เบี้ย) ดนุพล ปุยสุวรรณ(เก่ง) และ ณัฐวิภา พรหมศรีสุข

อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์เข้าร่วมประชุมการนำเสนอ (ร่าง) รายงานการศึกษาขั้นกลาง (Interim Report) โครงการศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019และวิกฤตเศรษฐกิจ

วันที่ 20 ตุลาคม 2563 เวลา 13.30 น. ผศ.ดร.เสาวลักษณ์ กิตติประภัสร์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต ได้เข้าร่วมประชุมการรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) รายงานการศึกษาขั้นกลาง (Interim Report) โครงการศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)และวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อนำเสนอผลการสำรวจและผลการศึกษามาตรการ กลไกในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและแนวโน้มทางสังคมหลังวิกฤต COVID-19 โดยมีนางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในการประชุมพร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมกิจการผู้สูงอายุเข้าร่วมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ชั้น 3 อาคาร 60 ปี บ้านราชวิถี

นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์เข้าร่วมแข่งขันกีฬาน้องใหม่ ม.รังสิต

ในวันที่ 19-20 ตุลาคม 2563 นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาน้องใหม่ประจำปีการศึกษา 2563 ได้แข่งขันผ่านรอบแรกกีฬาฟุตบอลประเภททีม 7 คน ทางคณะเศรษฐศาสตร์ขอชื่นชมในสปิริตของน้องๆและรุ่นพี่ทุกๆคนค่ะ

Open House 2020 คณะเศรษฐศาสตร์

คณะเศรษฐศาสตร์จัดกิจกรรมวัน Open House 2020 ร่วมกับคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยรังสิตในวันที่ 17-18 ตุลาคม 2563 มีนักเรียนให้ความสนใจมาเยี่ยมชมหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมเล่นเกมตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์และเกมเล่นหุ้นซึ่งดูแลโดยพี่ๆนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์

งานเลี้ยงสังสรรค์ครบรอบสถาปนา 15 ปี คณะเศรษฐศาสตร์

งานเลี้ยงสังสรรค์ครบรอบสถาปนา 15 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ วันเสาร์ที่ 24   มีนาคม 2561 ลานเอนกประสงค์ ชั้น 1 อาคารศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัย
รังสิต

เศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดีกันแน่?? กระบวนทัศน์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคประชาชน

เศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดีกันแน่??
กระบวนทัศน์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคประชาชน
โดย รศ.ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

ณัฐธิดา เย็นบำรุง เรียบเรียง

ตัวเลขเศรษฐกิจที่รัฐบาลและนักเศรษฐกิจนำเสนอออกมานั้นกับสิ่งที่เป็นจริงเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน รัฐบาลเสนอว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยดีมาก การส่งออกดีมาก GDP เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่เรามักจะเจอการบ่นมากมายจากคนทั่วไป เช่น แท็กซี่ คนค้าขาย และคนในท้องถิ่น ว่าเศรษฐกิจไม่ดี รายได้ลดลงมาก เหตุใดรัฐบาลและนักเศรษฐศาสตร์เสนอต่างจากที่ชาวบ้านคิด เกิดอะไรขึ้นในเศรษฐกิจไทย

ภาพลวงตาการส่งออกไทย

ในการดูระบบเศรษฐกิจ ใช้สมการ Y=C + I + G + (X-M) คือ มีเรื่องการใช้จ่ายการบริโภคครัวเรือน ตัว C การลงทุนภาคเอกชน ตัว I การใช้จ่ายรัฐบาล ตัว G ดุลการค้า (x-m) สิ่งที่น่าสนใจ คือ ภาพลวงตาของตัวเลขการส่งออก เรามักจะพูดกันเสมอว่าการส่งออกเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ซึ่งมันทำให้คนเข้าใจผิดว่าการส่งออกสร้าง GDP 70 เปอร์เซ็นต์ แต่จริงๆ แล้วมูลค่าการส่งออกยังไม่ใช่มูลค่าที่ไปเพิ่ม GDP โดยตรง ต้องหักการนำเข้าออกก่อน เช่น มูลค่าการส่งออกเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ นำเข้า 65 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า ดุลการค้าคือ 5 เปอร์เซ็นต์ ตัวที่เพิ่ม GDP คือดุลการค้า และดุลการชำระเงิน ไม่ใช่การส่งออก มีการตั้งคำถามกันมากว่า ตัวเลขส่งออกดีมาก ควรกระจายไปด้านล่างได้แล้ว นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ถ้าการส่งออกดี จะช่วยกระจายเศรษฐกิจไปเอง เหตุใดทำไมเศรษฐกิจสังคมไทยไม่กระจายออกไป นักเศรษฐศาสตร์ และรัฐบาลไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจนถึงปัญหาตัวเลขการส่งออกไทย มีหลายเหตุผลดังนี้ (คลิกอ่านรายละเอียด)

นางสาวพลอยไพลิน กลมเกลี้ยง

นางสาวพลอยไพลิน กลมเกลี้ยง

 

จบหลักสูตร
ตำแหน่ง
Mitsu Sequoya.Co.,Ltd. Sales Master,

ที่ปรึกษาฝ่ายขาย

จบหลักสูตรจาก
ที่ทำงาน
Business Platform Marketing (Global Marketing)

WISS ATOMY Co., Ltd. CEO

หมายเลขโทรศัพท์ :
Email

นายอิสฟานนันท์ บาเหมสะอิ

นายอิสฟานนันท์ บาเหมสะอิ

 

จบหลักสูตร
ตำแหน่ง
บริษัท SCICOM จำกัด ประเทศมาเลเซีย
จบหลักสูตรจาก
ที่ทำงาน
บริษัท SCICOM จำกัด ประเทศมาเลเซีย
หมายเลขโทรศัพท์ :
Email