เศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดีกันแน่?? กระบวนทัศน์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคประชาชน

เศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ดีกันแน่??
กระบวนทัศน์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคประชาชน
โดย รศ.ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

ณัฐธิดา เย็นบำรุง เรียบเรียง

ตัวเลขเศรษฐกิจที่รัฐบาลและนักเศรษฐกิจนำเสนอออกมานั้นกับสิ่งที่เป็นจริงเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน รัฐบาลเสนอว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยดีมาก การส่งออกดีมาก GDP เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่เรามักจะเจอการบ่นมากมายจากคนทั่วไป เช่น แท็กซี่ คนค้าขาย และคนในท้องถิ่น ว่าเศรษฐกิจไม่ดี รายได้ลดลงมาก เหตุใดรัฐบาลและนักเศรษฐศาสตร์เสนอต่างจากที่ชาวบ้านคิด เกิดอะไรขึ้นในเศรษฐกิจไทย

ภาพลวงตาการส่งออกไทย

ในการดูระบบเศรษฐกิจ ใช้สมการ Y=C + I + G + (X-M) คือ มีเรื่องการใช้จ่ายการบริโภคครัวเรือน ตัว C การลงทุนภาคเอกชน ตัว I การใช้จ่ายรัฐบาล ตัว G ดุลการค้า (x-m) สิ่งที่น่าสนใจ คือ ภาพลวงตาของตัวเลขการส่งออก เรามักจะพูดกันเสมอว่าการส่งออกเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ซึ่งมันทำให้คนเข้าใจผิดว่าการส่งออกสร้าง GDP 70 เปอร์เซ็นต์ แต่จริงๆ แล้วมูลค่าการส่งออกยังไม่ใช่มูลค่าที่ไปเพิ่ม GDP โดยตรง ต้องหักการนำเข้าออกก่อน เช่น มูลค่าการส่งออกเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ นำเข้า 65 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า ดุลการค้าคือ 5 เปอร์เซ็นต์ ตัวที่เพิ่ม GDP คือดุลการค้า และดุลการชำระเงิน ไม่ใช่การส่งออก มีการตั้งคำถามกันมากว่า ตัวเลขส่งออกดีมาก ควรกระจายไปด้านล่างได้แล้ว นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ถ้าการส่งออกดี จะช่วยกระจายเศรษฐกิจไปเอง เหตุใดทำไมเศรษฐกิจสังคมไทยไม่กระจายออกไป นักเศรษฐศาสตร์ และรัฐบาลไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจนถึงปัญหาตัวเลขการส่งออกไทย มีหลายเหตุผลดังนี้ (คลิกอ่านรายละเอียด)

เศรษฐกิจไทย : จากอุตสาหกรรมทุนนิยมสู่สังคมคนยากไร้

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
11 สิงหาคม 2552

บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักที่จะวิเคราะห์ให้เห็นว่า บนความเติบโตทางเศรษฐกิจไทย บนแนวทางเร่งรัดพัฒนาทุนนิยม คนจนคนยากไร้ได้อะไร เพียงไร และมีสถานภาพอย่างไร ในสังคมไทยปัจจุบัน
1. เศรษฐกิจไทยภายใต้สงครามเย็น
สงครามเย็นเป็นสงครามต่อสู้เชิงอุดมการณ์ระหว่างความคิดเชิงทุนนิยมที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และความคิดเชิงสังคมนิยมที่นำโดยโซเวียต ยุทธศาสตร์การต่อสู้ของฝ่ายทุนนิยมคือ มุ่งจำกัดและทำลายความคิดเชิงสังคมนิยม ทำลายระบบเศรษฐกิจเชิงสังคมนิยม ขยายและปกป้องระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ที่ขับเคลื่อนโดยกลไกตลาดและผลประโยชน์ส่วนตัว (self interest) ที่ปัจเจกบุคคลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ส่วนยุทธศาสตร์ของฝ่ายสังคมนิยมที่นำโดยโซเวียต มุ่งขยายความคิดเชิงสังคมนิยมและระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมที่เน้นการจัดสรรแบ่งปันภายใต้การกำกับของรัฐ และปัจจัยการผลิตเป็นของส่วนรวมภายใต้การควบคุมของรัฐ (คลิกอ่านรายละเอียด)

การเมืองไทย ภายใต้ทุนสามานย์

คำอภิปรายของ ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

12 พฤษภาคม 2557

            ในการขับเคลื่อนการต่อสู้ในสภาวะการที่ขัดแย้งทางการเมือง ความสนใจเรื่องเศรษฐกิจค่อนข้างจะต่ำ การวิเคราะห์เศรษฐกิจและการเมืองยิ่งค่อนข้างต่ำ ผมรู้สึกว่ารัฐบาลรู้จุดอ่อนตรงนี้ของตัวเอง และรู้จุดอ่อนของสังคม จุดอ่อนรัฐบาลอยู่ที่ด้านเศรษฐกิจ เขาพยายามจะไม่พูดความอ่อนไหวทางด้านเศรษฐกิจ แต่จะนำประเด็นทางการเมืองมาโหมกระแสอยู่ตลอดเวลา ทำให้สังคมขับเคลื่อนไปตามกระแสอารมณ์ทางการเมือง จนทำให้พวกทุนสามานย์สามารถบรรลุเป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจของตนได้ทุกเรื่อง

            เศรษฐกิจการเมืองไทยปัจจุบัน ประมาณ 40-50 % เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของโลก ผ่านข้อตกลงต่างๆ ตามข้อตกลงระหว่างรัฐ ปัจจุบันนั้นนักวิเคราะห์เชื่อว่าหลายๆ นโยบายนั้นไม่ได้ถูกกำหนดมาจากภายใน จริงๆแล้วนโยบายนั้นถูกกำหนดจากภายนอกผ่านข้อตกลงต่างๆ วันนี้เรากำลังเห่อ เออีซี สักกี่คนที่จะเข้าใจเออีซีและมันมีอะไรอยู่ในนั้น เราจะมองแต่ด้านดีมาตลอดซึ่งในทัศนะเศรษฐศาสตร์ทางการเมือง ในโลกนี้มันไม่มีอะไรได้มาฟรี แปลว่าทุกอย่างมีได้มีเสีย ทุกเวลาที่เราพูดถึงกระแสโลก ไม่ค่อยเห็นนักเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ที่จะพูดถึงข้อดีและข้อเสียคู่กันไป เรามักจะพูดแต่ข้อดีตลอด มองไม่เห็นข้อเสียเลย ทั้งที่ในภาษาเศรษฐศาสตร์ ไม่มีอะไรมีแต่ดีและไม่มีอะไรมีแต่เสีย มันมีดีมีเสียในตัวมัน หน้าที่ของเราอะไรดีเราเก็บไว้อะไรเสียก็พยายามให้ลดลง (คลิกอ่านรายละเอียด)

งานเลี้ยงสังสรรค์ครบรอบสถาปนา 15 ปี คณะเศรษฐศาสตร์

งานเลี้ยงสังสรรค์ครบรอบสถาปนา 15 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ วันเสาร์ที่ 24   มีนาคม 2561 ลานเอนกประสงค์ ชั้น 1 อาคารศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัย
รังสิต

สถาบันเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต เปิดรับสมัคร”ตรี-โท-เอก”

ปริญญาตรี ในสถานการณ์โควิด 19 กู้ กยศ. ผ่อนเดือนละ 3,634 บาท (3 งวด) เข้าเรียนเศรษฐกิจดิจิทัล ม.รังสิต แห่งแรกของประเทศไทยได้ทันที สมัครวันนี้รับส่วนลด 2,500 บาท รายละเอียด คลิก! (ไปหน้ารับสมัคร)

ปริญญาตรี สำหรับนักศึกษาใหม่ที่ตั้งใจเรียนเศรษฐกิจดิจิทัล แต่ขัดสนกำลังทรัพย์ที่จะใช้จ่ายประจำวันทางสถาบันเศรษฐศาสตร์ ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อนักศึกษาสถาบันเศรษฐศาสตร์ ยินดีมอบทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประจำวันให้แก่นักศึกษาใหม่

ปริญญาโทอัพเกรดตนเอง รองรับโลกหลังโควิด 19 ด้วยความรู้เศรษฐกิจดิจทัล ม.รังสิต มอบส่วนลด 10% ให้กับบุคคลทั่วไป ส่วนลด 20% ให้กับศิษย์เก่า ม.รังสิต/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จ่ายต่ำสุด 19,600 บาท เข้าเรียนปริญญาโทได้ทันที รายละเอียด คลิก! (ไปหน้ารับสมัคร)

ปริญญาเอก เราจะเข้าใจการต่อสู้เพื่อความมั่งคั่ง (wealth) และพลังอำนาจ (power) ของกลุ่มคนและชนชั้นทั้งในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างไร คำตอบ อยู่ที่การศึกษาจากหลักสูตรปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศและการพัฒนา เรียนโดยการทำวิทยานิพนธ์ 100% (ไม่มีชั้นเรียน) เหมาะกับยุค Social Distancing ควบคุมคุณภาพหลักสูตร โดย รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองอันดับหนึ่งของประเทศ และเป็นผู้ก่อตั้งหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย ด่วนสมัครเรียน วันนี้ รับส่วนลด 25% เหลือค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตรเพียง 337,500 บาท รายละเอียด คลิก! (ไปหน้ารับสมัคร)

คณาจารย์ประจำหลักสูตรป.โท ถ่ายรูปและแสดงความยินดีกับมหาบัณฑิตที่เข้ารับปริญญา

ผู้อำนวยการหลักสูตรป.โท ผศ.ดร.มานวิภา อินทรทัต และคณาจารย์ประจำหลักสูตรป.โท ถ่ายรูปและแสดงความยินดีกับมหาบัณฑิตที่เข้ารับปริญญาในปีการศึกษา 2562 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562

 

งานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2562

ผู้อำนวยการหลักสูตรป.โท ผศ.ดร.มานวิภา อินทรทัต และคณาจารย์ประจำหลักสูตรป.โท เข้าร่วมงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2562 วันที่ 15 กันยายน 2562